วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556
วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556
กีฬาสี สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
ดิฉันได้เก็บภาพในงานและกิจกรรมในงานมาฝากทุกคนที่พลาดงานนี้ด้วยนะคะ
วีดีโอ แชร์บอลสีส้มกับสีเขียว ชิงชนะเลิศอันดับ 3
วีดีโอ ทุกสีร่วมเล่นกิจกรรม
วีดีโอ ทุกสีร่วมเล่นกิจกรรม
วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
สรุปงานวิจัย
เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสม
ปริญญานิพนธ์
ของ
จงรัก อ่วมมีเพียร
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Mind Mapping สรุปงานวิจัย |
งานวิจัยเล่มนี้ได้ทำการทดลองกับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีอายุระหว่าง 4-5 ปีโรงเรียนเกาะกลอย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1 เพื่อศึกษาระดับของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการทดลองและเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการทดลอง โดยจะใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจงเลือกชั้นอนุบาลปีที่ 1 มา 1 ห้องเรียนโดยเป็นห้องที่ครูและเด็กให้ความร่วมมือในการทำวิจัยแล้วทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นนำคะแนนทีเด็กทำได้ไปเรียงจากมากไปหาน้อยแล้วหาเด็กที่มีคะแนนต่ำสุด 15 คน เพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่างในการทำการวิจัย การสร้างเครื่องมือในการทำวิจัยผู้ทำวิจัยก็ได้ศึกษา รวบรวม และปรึกษาผู้เชียวชาญจนสำเร็จแล้วนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างทดลอง
การทดลองได้ทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปี 2547 เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที ได้ทดสอบ Pretest กับเด็กทั้งห้องเป็นเวลา 4 วัน วันละ 1 ชุดแล้วหาคะแนนของเด็กที่มีต่ำสุด 15 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างในการทำการวิจัย ผู้วิจัยดำเนินการทดลองโดยการจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสมที่ดำเนินกับกลุ่มตัวอย่าง ส่วนกลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างให้อยู่ในความดูแลของครูประจำชั้นต่อไป
สรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการจัดกิจกรรมจากการวิจัยมีคะแนนพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในด้านการจำแนกเปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ รู้ค่าจำนวนสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง
วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
หน่วยเรื่อง กล้วย
เตรียมความพร้อมด้วยเสียงเพลง หากว่าเรากำลังสบาย จงตบมือพัน แป๊ะ แป๊ะ หากว่าเรากำลังมีสุขไม่มีทุกข์เรื่องใดทุกสิ่งจงตบมือพัน แป๊ะ แป๊ะ
ก่อนเข้าสู่บทเรียนของเด็ก เด็กๆ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เด็กๆ เรียนเรื่องอะไรไปบ้างคะ (สมมุติว่าเรื่องข้าว) ข้าวก็เป็นอาหารหลักที่เด็กๆ ต้องรับประทานเข้าไปในร่างกาย ผลไม้ก็เหมือนกันคะ อย่างกล้วยนะคะ
1. เด็กๆ เคยกินกล้วยอะไรบ้างคะ / เด็กๆ รู้จักกล้วยอะไรบ้างคะ (ขณะที่เด็กๆ ตอบครูผู้สอนต้องเขียนคำตอบเด็กๆ ในรูปแบบมายเมปเพื่อให้เด็กๆ ให้ข้อมูลได้ชัดเจน)
2. เด็กๆ รู้ไหมคะว่าในตะกร้าที่ครูถืออยู่นี้มีอะไรอยู่ข้างใน ถ้ามีเด็กคนไหนตอบถูกให้ปรบมือให้ตัวเองนะคะ
- เปิดตะกร้าให้เด็กๆ ดู (เด็กที่ตอบถูกจะปรบมือ) แล้วยกกล้วยแต่ละหวีให้เด็กได้กะปริมาณ (ครูหยิบกล้วยไข่ยกขึ้นแล้วบอกว่ากล้วยชนิดนี้เขาชื่อว่า "กล้วยไข่คะ" เด็กๆ ลองพูดสิคะ/ครูหยิบกล้วยหอมยกขึ้นแล้วบอกว่ากล้วยชนิดนี้เขามีชื่อว่า "กล้วยหอมคะ" เด็กๆ ลองพูดสิคะ)
- เด็กๆ คะ เรามาช่วยกันนับกันนะคะว่ากล้วยมีทั้งหมดกี่ผล
3. การจัดกลุ่ม ครูตั้งเกณฑ์คือ ให้เด็กๆ หยิบกล้วยที่มีขนาดเล็กลงในตะกร้าที่ครูกำหนด
4. การแยกประเภท ให้เด็กๆ ออกมาหยิบกล้วยไข่แล้วนำมาใส่ไว้ในตะกร้าทางด้านขวามือของเด็กนะคะ และหยิบกล้วยหอมมาใส่ไว้ในตะกร้าทางด้านซ้ายมือของเด็กนะคะ (มือซ้ายอยู่ไหนคะ/ขวาอยู่ไหนคะ)
5. การเปรียบเทียบ ให้เด็กๆ ส่งตัวแทนเด็กผู้หญิง 1 คน เด็กผู้ชาย 1 คน มายืนอยู่ตรงตะกร้ากล้วยหอมและกล้วยไข่ ให้เด็กผู้หญิงกับเด็กผู้ชายหยิบกล้วยในตะกร้าของตนเองออกมาทีละ 1 ชิ้นและพร้อมๆ กัน ถ้าคนไหนกล้วยในตะกร้าหมดก่อนแสดงว่ากล้วยในตะกร้ามีจำนวนน้อยกว่าตะกร้าอีกใบหนึ่ง แต่ถ้ากล้วยในตะกร้ายังเหลืออยู่แสดงว่ากล้วยในตะกร้าทีจำนวนมากกว่าตะกร้าอีกใบหนึ่ง
6. นำเสนอข้อมูล
ภาพ : นำเสนอข้อมูล เพื่อให้เด็กเห็นความแตกต่างที่ชัดเจน |
สัปดาห์ที่ 16
วันศุกร์ ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556
กิจกรรมในห้องเรียน
อาจารย์นำผลงานของเด็กๆ ที่ทำงานร่วมกันกับครูผู้สอนและเพื่อนๆ ในห้องเรียนมาเป็นตัวอย่างในการสอนสำหรับนักศึกษาว่าที่ครูปฐมวัยในอนาคต มีเนื้อหาดังต่อไปนี้
ภาพ : ตารางเปรียบเทียบรสนมที่เด็กๆ ชอบที่สุด |
ภาพ : มายเมปอาหารที่มีนมเป็นส่วนประกอบ |
ภาพ : การเปรียบเทียบความแตกต่าง ความเหมือนของเด็กหญิงและเด็กชาย |
ภาพ : มายเมปการวิเคราะห์ส่วนผลของขนมครกข้าว ครูและเด็กทำร่วมกัน |
และยังมีเพื่อนๆ อีก 2 กลุ่มได้สอบสอนซึ่งมีเรื่อง ข้าวและสับปะรด
วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
สัปดาห์ที่ 15
วันศุกร์ ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556
กิจกรรมในห้องเรียน
อาจารย์ให้ส่งมายเมปมาตรฐานคณิตศาสตร์และอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมาสอบสอนซึ่งวันนี้สอบสอนแค่ 2 กลุ่ม แต่ดิฉันจะขอยกตัวอย่างกลุ่มแรกเรื่อง "ผลไม้" ดังนี้
วันจันทร์ เรื่อง ชนิดของผลไม้
ภาพ : มายเมปชนิดของผลไม้ที่เด็กๆ ได้ตอบมา |
การสอน
1. เด็กๆ ขา เด็กๆ ว่าอะไรอยู่ในตะกร้า (ซึ่งมีผ้าคลุมไว้ทำให้เด็กได้กะค่าสิ่งของที่อยู่ในตะกร้า)
2. ถ้าครูเปิดผ้าออกแล้วมีคำตอบของเด็กอยู่ในตะกร้านี้ให้เด็กปรบมือให้ตนเองนะคะ (ครูเปิดผ้าออก)
3. การนับ มีอยู่ 1 เพิ่มอีก 1 เป็น 2 มีอยู่ 2 เพิ่มอีก 1 เป็น 3 ....... 6 (พูดและปักผลไม้ลงไปให้เด็กเห็นลำดับ)
4. ครูใช้ตัวเลขกำกับ ใช้แทนค่า หรือมีแผ่นกระดาษให้เด็กเขียนแล้วเอามาวางตรงค่านั้น
5. จัดกลุ่ม ครูตั้งเกณฑ์ คือ ให้เด็กๆ หยิบผลไม้ที่มีสีแดงมาปักไว้ข้างหน้า (การปักต้องปักมาจากทางซ้ายเพื่อจะได้เรียงลำดับได้ถูกต้อง)
6. ผลไม้ที่มีสีแดงมี 2 ผลของจำนวนทั้งหมด กับผลไม้ที่ไม่มีสีแดงมี 4 ผลของจำนวนทั้งหมด
วันอังคาร เรื่อง ลักษณะ
การสอน
1. ส่งผลส้มกับสับปะรดให้เด็กๆ ได้สัมผัส
2. ให้เด็กช่วยกันตอบ ดังนี้
3. นำเสนอข้อมูลให้เด็กเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น
เด็กจำได้ไหมคะ เมื่อวานเราเรียนเรื่องชนิดกับลักษณะไปแล้ว ส้มกับสับปะรดมีเส้นผิวที่เหมือนกัน สับปะรดจะมีกลิ่นหอมกว่าส้มใช่ไหมคะ
วันพุธ เรื่อง ประโยชน์
การสอน กลุ่มนี้ใช้วิธีการเล่านิทาน ถ้าถามเด็กๆ ว่าชอบดื่มน้ำอะไรมากกว่ากันระหว่างน้ำส้มกับน้ำสับปะรด สามารถแสดงกราฟได้ ดังนี้
วันพฤหัสบดี เรื่อง การทำอาหาร (แบ่งครึ่งกับแบ่ง 2 ส่วน ต่างกันคือ แบ่งครึ่งจะแบ่งได้เท่ากันแต่แบ่ง 2 ส่วน แบ่งยังไงก็ได้ขอให้ได้ 2 ส่วน)
.................................................................................................................................
งานที่สั่งครั้งต่อไป
อาจารย์ให้นักศึกษากลุ่มที่ยังไม่ได้สอบสอนในสัปดาห์นี้ ให้สอบสอนในสัปดาห์หน้า
1. เด็กๆ ขา เด็กๆ ว่าอะไรอยู่ในตะกร้า (ซึ่งมีผ้าคลุมไว้ทำให้เด็กได้กะค่าสิ่งของที่อยู่ในตะกร้า)
2. ถ้าครูเปิดผ้าออกแล้วมีคำตอบของเด็กอยู่ในตะกร้านี้ให้เด็กปรบมือให้ตนเองนะคะ (ครูเปิดผ้าออก)
3. การนับ มีอยู่ 1 เพิ่มอีก 1 เป็น 2 มีอยู่ 2 เพิ่มอีก 1 เป็น 3 ....... 6 (พูดและปักผลไม้ลงไปให้เด็กเห็นลำดับ)
4. ครูใช้ตัวเลขกำกับ ใช้แทนค่า หรือมีแผ่นกระดาษให้เด็กเขียนแล้วเอามาวางตรงค่านั้น
5. จัดกลุ่ม ครูตั้งเกณฑ์ คือ ให้เด็กๆ หยิบผลไม้ที่มีสีแดงมาปักไว้ข้างหน้า (การปักต้องปักมาจากทางซ้ายเพื่อจะได้เรียงลำดับได้ถูกต้อง)
6. ผลไม้ที่มีสีแดงมี 2 ผลของจำนวนทั้งหมด กับผลไม้ที่ไม่มีสีแดงมี 4 ผลของจำนวนทั้งหมด
วันอังคาร เรื่อง ลักษณะ
การสอน
1. ส่งผลส้มกับสับปะรดให้เด็กๆ ได้สัมผัส
2. ให้เด็กช่วยกันตอบ ดังนี้
ภาพ : ลักษณะที่เด็กช่วยกันตอบ |
3. นำเสนอข้อมูลให้เด็กเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น
ภาพ : นำเสนอข้อมูลแสดงการเปรียบเทียบระหว่างส้มกับสับปะรด |
เด็กจำได้ไหมคะ เมื่อวานเราเรียนเรื่องชนิดกับลักษณะไปแล้ว ส้มกับสับปะรดมีเส้นผิวที่เหมือนกัน สับปะรดจะมีกลิ่นหอมกว่าส้มใช่ไหมคะ
วันพุธ เรื่อง ประโยชน์
การสอน กลุ่มนี้ใช้วิธีการเล่านิทาน ถ้าถามเด็กๆ ว่าชอบดื่มน้ำอะไรมากกว่ากันระหว่างน้ำส้มกับน้ำสับปะรด สามารถแสดงกราฟได้ ดังนี้
ภาพ : กราฟแสดงผลสรุป : ได้ว่าเด็กๆ ชอบดื่มน้ำส้มมากกว่าน้ำสับปะรด |
วันพฤหัสบดี เรื่อง การทำอาหาร (แบ่งครึ่งกับแบ่ง 2 ส่วน ต่างกันคือ แบ่งครึ่งจะแบ่งได้เท่ากันแต่แบ่ง 2 ส่วน แบ่งยังไงก็ได้ขอให้ได้ 2 ส่วน)
.................................................................................................................................
งานที่สั่งครั้งต่อไป
อาจารย์ให้นักศึกษากลุ่มที่ยังไม่ได้สอบสอนในสัปดาห์นี้ ให้สอบสอนในสัปดาห์หน้า
วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556
สัปดาห์ที่ 14
วันศุกร์ ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556
ไม่มีการเรียนการสอน แต่อาจารย์ได้มอบหมายงานให้ทำคือ เตรียมตัวให้พร้อมในการนำเสนองานและซักซ้อมมาให้ดี และอาจารย์จะนัดชดเชย แต่ยังไม่มีกำหนดที่แน่นอน
สัปดาห์ที่ 13
วันศุกร์ ที่ 25 มกราคม 2556
กิจกรรมให้ห้องเรียน
จากภาพ : เนื้อหาที่เรียนในวันนี้ |
ภาพ : ตัวอย่างเพิ่มเติมของการเปรียบเทียบ |
ภาพ : ตัวอย่างการแยกกลุ่มและการรวมกลุ่ม |
คำพูดโดนๆ สำหรับครูปฐมวัย
** เด็กได้ลงมือกระทำเอง เป็นการเรียนรู้ของเด็ก **
_________________________________________________________________
งานที่สั่งในครั้งต่อไป
งานที่สั่งในครั้งต่อไป
1. ให้นักศึกษาเตรียมตัวนำเสนอการสอนหน้าชั้นเรียนในวันศุกร์
ที่ 8 มกราคม 2556
วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556
สัปดาห์ที่ 12
วันศุกร์ ที่ 18 มกราคม 2556
กิจกรรมในห้องเรียน
- อาจารย์ให้ส่งงาน Mind Mapping งานกลุ่ม พร้อมแนบงานเดี่ยวไปส่ง อาจารย์ได้ให้คำแนะนำในผลงานที่นักศึกษาส่ง
ภาพงานกลุ่ม เรื่อง "กล้วย"
ภาพงานเดี่ยว เรื่อง "ชนิดของกล้วย"
- วิธีการเลือกของหน่วยที่จะนำมาสอนเด็กปฐมวัย
1. เรื่องใกล้ตัว
2. มีประโยชน์กับเด็ก
3. เด็กรู้จัก
4. เสริมสร้างพัฒนาการ
5. เป็นเรื่องง่ายๆ เด็กทำได้
6. เหมาะสมกับวัยของเด็ก
7. มีความสำคัญกับเด็ก
8. มีผลกระทบกับเด็ก
- ถ้าเด้กอยากรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อันดับแรกครูควรสำรวจโรงเรียนว่าอะไรที่จะสามารถนำมาบูรณาการได้ ที่ทำให้เด็กเข้าใจและตามกำลังเราเท่าที่ครูคนหนึ่งทำได้
- อาจารย์ยกตัวอย่าง Mind Mapping ของเพื่อนซึ่งเป็นเรื่อง "ไข่"
วันจันทร์
เรื่อง ชนิดของไข่
ครูคำถาม : เด็กๆ รู้จักไข่อะไรบ้าง แล้วเด็กๆ จะตอบชนิดของไข่นู้นนี้นั้นมาเยอะแยะ ซึ่งได้คณิตศาสตร์ด้านทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
ครูคำถาม : อยากรู้ไหมว่าในตะกร้าครูมีไข่อะไร เป็นการสอนให้เด็กมีส่วนร่วม ซึ่งเข้าสู่บทเรียน
ครู : เปิดตะกร้าให้เด็กดูว่ามีอะไรบ้าง > ไข่เป็ด ไข่ไก่
ครูถาม : ไข่ในตะกร้ามีทั้งหมดกี่ฟอง ได้คณิตศาสตร์เรื่องจำนวน เศษส่วน การนับ (การสอนนับกับเด็กที่เล็กๆ คือ นับ 1 เพิ่มอีก 1 เป็น 2 มี 2 เพิ่มอีก 1 เป็น 3 ............. เรื่อยๆ จนครบ 10)
การจัดกลุ่ม ตั้งเกณฑ์ไข่ที่มีสีขาว ให้เด็กหยิบไข่ที่มีสีขาวลงในตะกร้าที่ครูกำหนด
การแยกประเภท ไข่ไก่มี 5 ฟอง ไข่เป็ดมี 5 ฟอง
เปรียบเทียบ จับคู่ 1:1 (เรื่องจำนวน) พอจับคู่ไข่เป็ด ไข่ไก่โดยที่ไม่เหลือ สรุปว่าไข่ทั้ง 2 ประเภทเท่ากัน
นำเสนอข้อมูล วาดรูปวงกลมแบ่งช่องให้ได้ 10 ช่อง แล้ววาดไข่เป็ด 5 ช่อง ไข่ไก่ 5 ช่องกำหนดรูปไข่ทั้ง 2 ประเภทนี้ เพื่อให้เด็กเห็นความแตกต่างที่ชัดเจน
จากการเรียนเรื่องไข่ เด็กได้ลงมือสัมผัสและกระทำเอง ทั้งการตอบคำถาม การหยิบไข่เอง
สรุป เด็กเรียนรู้หรือไข่ เด็กได้คณิตศาสตร์เรื่องการแยกแยะ วิเคราะห์ สัมผัส จำนวน และสังเกต
วันอังคาร
เรื่อง ลักษณะ
สี ไข่เป็ดสีขาว ไข่ไก่สีครีม
ขนาด
- ขนาดเท่ากันไหม > ไม่เท่า
- ไข่ชนิดไหนเป็นยังไง > ไข่เป็ดใหญ่กว่า
รูปทรง ไข่ทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นวงรี
ส่วนประกอบไข่เป็ด ไข่ไก่ > ไข่แดง ไข่ขาว และเปลือกไข่
- เด็กๆ ว่าไข่มีรูปร่างเหมือนอะไร เด็กได้เรื่องจินตนาการ การเชื่อมโยง และเปรียบเทียบ
- เขียนแผนภูมินำเสนองาน โดยวาดไข่เป็ด ไข่ไก่ โดยการวดรูปเด็กโตและเด็กเล็ก แทนขนาดของไข่ทั้ง 2 ชนิด คือ ไข่เป็ดให้ใช้รูปเด็กโตเพราะมีขนาดใหญ่กว่าไข่ไก่
***** เกร็ดข้อคิด : ครูจะทำอะไรก็ตามให้เด็กได้มีส่วนร่วมเท่าที่เด็กจะทำได้ ***** _________________________________________________________________________________
งานที่สั่งในครั้งนี้
อาจารย์ให้นักศึกษาทุกกลุ่มนำงานที่ส่งเมื่อต้นชั่วโมงกลับไปแก้ไขและปรับปรุงงานตัวเองทั้งงานกลุ่มและงานเดี่ยว
วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556
สัปดาห์ที่ 11
วันศุกร์ ที่ 11 มกราคม 2556
กิจกรรมในห้องเรียน
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอสื่อที่ประดิษฐ์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มานำเสนอ ดังนี้
1. ลูกคิด จะทำให้เด็กเห็นเป็นรูปธรรม เด็กจะได้การกระจายเลขแต่ละจำนวน
2. กราฟ เป็นการนำเสนอข้อมูลในด้านการเปรียบเทียบ
3. ปฏิทิน สอนในเรื่องคณิตศาสตร์ได้ดังนี้ เรียงลำดับ จำนวน นับ ปริมาณ
จากปฏิทินเราสามารถนำกิจกรรมมาลงได้ 1. กิจกรรมวันเกิดให้ครูวาดรูปเค้กแล้วมีน่าเด็กลงไปในวันเกิดนั้นและเดือนนั้น 2. สภาพอากาศให้ครูวาดรูปอาการแจ่มใส ฟ้ามืดครื้ม ฝนตก ลงไปในปฏิทิน
งานที่สั่งในครั้งต่อไป
1. ให้นักศึกษาทำงานกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ให้แต่ละกลุ่มเลือกหน่วย / สาระการเรียนรู้ มา 1 หน่วยแล้วทำมายเมป
2. งานเดี่ยวคือ ให้แต่ละคนวิเคราะห์สาระการเรียนรู้ กับมาตรฐานคณิตศาสตร์แล้วทำประสบการณ์สำคัญ
สัปดาห์ที่ 10
วันศุกร์ ที่ 4 มกราคม 2556
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำสื่อที่กลุ่มของตนเองได้รับมอบหมาย
ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้ "การทำสื่อปฏิทิน"
ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้ "การทำสื่อปฏิทิน"
จากภาพ : เป็นไกน์ไลด์ในการทำ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)