โค๊ดยินดีต้อนรับ

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 4 



วันศุกร์ ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


ไม่มีการเรียนการสอน               
 เนื่องจากฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์  กำหนดจัด "โครงการกีฬาสีศึกษาพันธ์"



หนังสือขออนุญาตอาจารย์ไปเข้าร่วมกิจกรรม




ได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว และได้รับหน้าที่เป็นกองเชียร์



สัปดาห์ที่ 3


วันศุกร์ ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


กิจกรรมในห้องเรียน

          -  อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มละ 3 คน นำงานที่หามาในสัปดาห์ที่ 2 มาแชร์กับเพื่อนๆ ในกลุ่ม เพื่อสรุปเป็นความคิดของกลุ่มตัวเอง      
          -  อาจารย์ให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มนำเสนองานตามหัวข้อที่อาจารย์กำหนด โดยกลุ่มของข้าพเจ้าได้หัวข้อ "ทฤษฎีของคณิตศาสตร์" และข้าพเจ้าเป็นตัวแทนกลุ่มนำเสนองาน                  



1. ความหมายของคณิตศาสตร์             
         สรุปโดย 1. นางสาวพลอยไพลิน อาจหาญ
                    2. นางสาวชลันดา คำจันทร์
                    3. นางสาวสมฤดี โพธิกะ
           ความหมายคณิตศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับตัวเลข มีการใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เป็นภาษาสากลที่มีโครงสร้างแน่นอนและมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน (อ้างอิงจากมาร์เชล สโตน , ฉวีวรรณ กีรติกร พฤติกรรมการสอนการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาและศึกษาและศักดา บุญโต ความคิดเชิงวิเคราะห์)

2. จุดมุ่งหมายของคณิตศาสตร์ 
          เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานในการคิดและคำนวณ สามารถนำประสบการณ์ทางด้านความรู้ ความคิด และทักษะที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ และใช้ในชีวิตประจำวัน (อ้างอิงจาก การวัดและประเมินผลในชั้นเรียนกลุ่มทักษะคณิตศาสตร์ พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา-เรวัตร พรหมเพ็ญ และความคิดชิงวิเคราะห์-ศักดิ์ บุญโต และสุเทพ จันทร์สมศักดิ์)

3. การทฤษฎีของคณิตศาสตร์ 
          ลำดับของการเรียนการสอนในคณิตศาสตร์ เริ่มจากากรทบทวนความรู้เดิมแล้วสอนความรู้ใหม่ด้วยการแสดงความคิดความพร้อม การฝึกฝนหรือฝึกทักษะการเสริมแรงและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน (อ้างอิงจาก ดีนส์ เอกสารเสริมความรู้ครูคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา, เรวัตร พรหมเพ็ญ พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา และกรมวิชาการ) 

4. ขอบเขตการเรียนการสอนคณิตศาสตร์  
          ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ คุณครูและนักเรียนต้องมีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานเป็นทุกเรื่องก่อน ซึ่งเนื้อหาคณิตศาสตร์แต่ละพื้นฐานต้องมีความสัมพันธ์กันและเหมาะสมกับวัยหรือวุฒิภาวะของผู้เรียน (อ้างอิงจาก เอกสารเสริมความรู้ครูคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา เล่มหนึ่ง , สภาครูคณิตศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา และพฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา)

5. หลักการทางคณิตศาสตร์
1. กำหนดจุดมุ่งหมาย
2. จัดกิจกรรมให้หลายหลาย
3. การเรียนรู้ จากการค้นพบ
4. การจัดกิจกรรมที่มีระบบ
5. ฝึกหัดหลังจากที่เรียนรู้
          ดังนั้น กระบวนการสอนถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญสุดเพราะถ้าครูสอนทำแบบฝึกหัดแล้วเฉลย เด็กจะไม่ได้ฝึกทักษะ ทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่าย ไม่อยากเรียน และคิดว่าคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ยาก(อ้างอิงจาก พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา-เรวัตร พรหมเพ็ญ)


สัปดาห์ที่ 2


วันศุกร์ ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


กิจกรรมในห้องเรียน

          
          - อาจารย์ให้นักศึกษาลิงค์บล็อกก่อนเริ่มเรียน 
          - อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนตามคำบอกเป็นภาษาอังกฤษ มีดังนี้ คณิตศาสตร์ (Mathematics) ประสบการณ์ (Experience) และปฐมวัย (Childhood)
          - ทฤษฎีของเพียเจต์
          - อาจารย์ให้มองล้อมตัว เพื่อมองหาอะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
              ^ โปรเจคเตอร์ (มีลักษณะสี่เหลี่ยม)
                 บอร์ดหน้าห้องเรียน (สี่เหลี่ยมผืนผ้า)
                 เศษกาวสองหน้าที่บอร์ด (สอนจำนวนนับ)
                 ลำโพง (มีลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า)
                 จำนวนนักศึกษา (สอนจำนวนนับ) ^
          - ระดับน้ำในแก้ว 2 ใบนี้เท่ากัน แต่แก้ว 2 ใบมีความสูง-ต่ำต่างกัน
                       

         
          จากภาพ ถ้าถามเด็กๆ ว่า "น้ำแก้วไหนเยอะที่สุด" เด็กๆ จะตอบตามที่ตาเห็นคือ ใบที่ 1 เยอะสุดเพราะมีรูปทรงสูงกว่าใบที่ 2


งานที่สั่งครั้งต่อไป


          สำรวจหนังสือคณิตศาสตร์ที่วิทยบริการมหาวิทยาลัย
               - หนังสือคณิตศาสตร์ (บอกชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ปี พ.ศ. เลขหมู่หนังสือ สำนักพิมพ์)
               - หาความหมายของคณิตศาสตร์ 1 คน (ชื่อหนังสือ เลขหน้า ชื่อบุคคล)
               - จุดมุ่งหมาย / เป้าหมาย / วัตถุประสงค์ของการสอนคณิตศาสตร์
               - ทฤษฎีการสอนของคณิตศาสตร์
               - ขอบข่าย / ขอบเขตของคณิตศาสตร์
               - หลักการสอน / การจัดประสบการณ์ของคณิตศาสตร์


วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 1



วันศุกร์ ที่ 2 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2555



          ข้าพเจ้าไม่ได้มาเรียนในวันดังกล่าว เนื่่องจากผ่าฟันคุดแล้วมีอาการข้างเคียงเล็กน้อย <พร้อมใบรับรองแพทย์> แต่ได้สอบถามจากเพื่อนๆ ร่วมชั้นเรียน ดังนี้
          วันนี้อาจารย์ชี้แจงข้อตกลงก่อนเรียนระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 
          1.  เรื่องของการทำบล็อก
          2.  การแต่งกายให้เป็นระเบียบเรียบร้อย 

          กิจกรรมในห้องเรียน
          1.  เขียนประโยค 2 ประโยค เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คืออะไร ?
          2.  เขียนความคาดหวังในการเรียนรายวิชานี้ว่าจะได้ความรู้หรือประสบการณ์อย่างไร ?
               = ปกติข้าพเจ้าเป็นคนไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์เลย แต่ได้มาสัมผัสคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เป็นเพลง / ทำนอง เหมือนข้าพเจ้าเองได้เรียนอนุบาลอีกครั้งเลยคะ ข้าพเจ้าชอบและสนุกไปกับวิชานี้มากขึ้นถ้าสมัยก่อนมีแนวการสอนแบบนี้ก็คงจะดีมาก ข้าพเจ้าเลยหวังว่าจะได้นำองค์ความรู้ที่ได้จากวิชานี้ สามารถแต่งเป็นเพลงทำนองให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์เพื่อให้เด็กๆ ปฐมวัยจำได้ง่ายขึ้นจากที่จะขึ้นกระดาษหรือสอนนับ ถ้าเราลองนำทำนองเข้าไปก็จะสนุกไม่น้อยเลย

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555






                 ชื่อ-นามสกุล                     :  นางสาวสมฤดี   โพธิกะ
                 นามขี้เล่นแต่ไม่เล่นขี้         :  ปุ้งเหน่ง (Pongneng)  อายุ  20 ปี
                 E-mail                             : pongrng_35@hotmail.com
                 เบอร์โทรศัพท์                   :  084-6021139 
                 ลืมตาดูโลก                      :  วันเสาร์ ที่ 5 เดือนกันยายน พ.ศ. 2535 เวลา 04.45 น. ปีวอก
                 ที่หลบภัยน้ำท่วมปัจจุบัน    :  หอพักบ้านพรธนพัทธ์ เลขที่ 109/7 ซอยรัชดาภิเษก 36
                             แยก 9-5   ถนนรัชดาภิเษก แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
                คติประจำใจ                       :  จะรู้ได้ไงว่าทำได้ ถ้าไม่ลองทำ
                อาหารจานโปรด                 :  ข้าวพัดปู (13 เหรียญ) ส้มตำทอด (นครปฐม)
                สัตว์เลี้ยงที่ชอบ                 :  สุนัข กระต่าย หนูแฮมเตอร์