โค๊ดยินดีต้อนรับ

วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 9



วันศุกร์ ที่  28  ธันวาคม  2555



ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุดช่วงเทศกาลปีใหม่




วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 8



วันศุกร์  ที่  21  ธันวาคม  2555



ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยกำหนดให้เป็นช่วงวันการสอบกลางภาค

สัปดาห์ที่ 7



วันศุกร์  ที่  14  ธันวาคม  2555


กิจกรรมในห้องเรียน

         อาจารย์ถามนักศึกษาว่า "เมื่อพูดถึงมาตรฐาน คุณนึกถึงอะไร"
                     นักศึกษาร่วมกันตอบ 1.  การวัด 2.  ความน่าเชื่อถือ  3.  เกณฑ์ ฯลฯ

         อาจารย์ถามว่า "ถ้านึกถึงมาตรฐานในชีวิตประจำวัน คุณนึกถึงอะไร"
                     นักศึกษาร่วมกันตอบ 1.  ของกินที่จะกินมีคุณภาพไหม
                                                       2.  เครื่องสำอางที่ใช้มีคุณภาพไหม

         อาจารย์ได้อธิบายกรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์ คือ ทั้งควบคุมและเป็นแนวทางให้เราได้ จัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขากำหนดขึ้นมา

         อาจารย์ถามว่า "สสวท ย่อมาจากคำว่าอะไร" นักศึกษาตอบว่า สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" อาจารย์ถามต่อว่า "ทำไหมมาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในเมื่อชื่อยังไม่เห็นบอกเลย" อาจารย์อธิบายว่า คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่สำคัญเราจึงควรจัดคณิตศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยให้เหมาะสม

         อาจารย์ถามว่า "เราจะทำยังงัยให้เด็กมารักคณิตศาสตร์ สนใจคณิตศาสตร์มากขึ้น"
              1.  นึกถึงพัฒนาการของเด็ก เพราะพัฒนาการจะบอกว่าเด็กสามารถทำอะไรบ้าง
              2.  เด็กเรียนรู้จากการเล่น ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้เด็กลงมือกระทำ ให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ
              3.  เด็กเรียนรู้จากเสียงเพลง ควรแต่งเพลงที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้กับเด็กและให้เด็กร้องเอง

         อาจารย์อธิบาย แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย 2 สาระแรก
               สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
               สาระที่ 2 การวัด
_________________________________________________________________________________

งานที่สั่งในครั้งนี้

1.  ศึกษาเพิ่มเติมจากหนังสือ คู่มือกรอบมาตรฐานการเรียรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
2.  สื่อ กลุ่มละ 10-12 คน  ส่งหลังปีใหม่

                 

วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 6


วันศุกร์  ที่ 7  ธันวาคม  2555


กิจกรรมในห้องเรียน

          อาจารย์ให้นักศึกษานำกล่องที่สั่งในสัปดาห์ที่แล้วมา แล้วมาวิเคราะห์ร่วมกันว่า การนำกล่องมาสอนเป็นคณิตศาสตร์สอนอะไรได้บ้าง และสอนได้อย่างไร
          จากนิยามของนิตยา  ประพฤติกิจ  
                 เศษส่วน  เด็กทราบไหมว่ากล่องทั้งหมดมีกี่กล่อง ให้เด็กๆ หยิบกล่องยาสีไปทางด้านซ้ายมือ
                 การทำตามแบบ  ครูเรียงกล่อง แล้วเด็กเรียงตาม
                 เซต  เซตเครื่องใช้ในห้องน้ำกับเครื่องยา
                 จัดประเภท  ยาสีฟันอยู่กับยาสีฟัน
                 
         อาจารย์ให้นักศึกษาร่วมกลุ่มกัน กลุ่มละ 11 คน แล้วบอกว่ากล่องของแต่ละคนในเมื่อดูแล้วนึกถึงอะไร ซึ่งกล่องดิฉันคือ  

ดิฉันตอบอาจารย์ว่า เป็นโทรศัพท์บ้าน

         กลุ่มทั้งหมดมี 3 กลุ่ม และอาจารย์ได้ให้โจทย์แต่ละกลุ่ม  ดังนี้
                กลุ่มที่ 1 คุยกันได้ วางแผนกันก่อน (ประดิษฐ์เป็นหุ่นยนต์)
                กลุ่มที่ 2 คุยกันได้ลงมาติดที่ละคน (ประดิษฐ์เป็นบ้าน)
                กลุ่มที่ 3 คุยกันไม่ได้ลงมาติดที่ละคน (ประดิษฐ์เป็นสถานีรถไฟ) กลุ่มของดิฉัน

ภาพกิจกรรมในห้องเรียน






วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่  5


วันศุกร์  ที่  30  พฤศจิกายน  2555


          วันนี้อาจารย์ได้ชี้แจงกิจกรรมเนื่องในวันพ่อแห่งชาติ ที่คณะศึกษาศาสตร์ได้จัดขึ้น ซึ่งมีงานดังนี้
          1.  วันจันทร์ ที่ 3 ธันวาคม 2555 เวลา 13.00 - 17.00 น. ที่หน้าคณะศึกษาศาสตร์ กิจกรรมคือ ลงนามถวายพระพร และร่วมกันร้องเพลงเฉลิมพระเกียรติ
          2.  วันอังคาร  ที่ 4 ธันวาคม 2555 เวลา  16.00 - 19.00 น. ที่ลานกีฬาในร่ม กิจกรรมคือ เต้นแอโรบิกเฉลิมพระเกียรติ


กิจกรรมในห้องเรียน

          ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยศึกษาควารประกอบด้วยหัวข้อของเนื้อหาหรือทักษะ (นิตยา  ประพฤติกิจ 2541: 17-19)  ดังนี้
          1. นับ  เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับ 1-10
          2.  ตัวเลข  เป็นสัญลักษณ์ทางภาษา
          3.  จับคู่  สื่อถึงรูปร่าง รูปทรง จำนวนที่เท่ากัน ตำแหน่ง เรียงลำดับ สูง-ต่ำ
          4.  การจัดประเภท  อาศัยการสร้างเกณฑ์  เช่น  กำหนดเกณฑ์สัตว์บกสัตว์น้ำ 2 เกณฑ์ เพื่อไม่ให้เด็กสับสน
          5.  การเปรียบเทียบ  เมื่อมีของ 2 สิ่ง สิ่งแรกคือ การหาค่า สิ่งที่สองคือ เอาค่ามาเปรียบเทียบตามที่ตาเห็น

          *** เด็กเล็กๆ ต้องกระทำเองเพื่อไปสร้างเส้นใยสมอง เช่น  มีนักเรียนสองแถว แถวที่ 1 มีจำนวน 8 คน แถวที่ 2 มีจำนวน 6 คน ถ้าอยากให้เด็กรู้ว่าแถวไหนน้อยหรือมากกว่า ทำได้โดย จับคู่แบบ 1:1 ว่าแถวไหนหมดก่อนแสดงว่าแถวนั้น้อยกว่า เด็กจะหาคำตอบได้ ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีเพียเจต์ (เด็กมองเท่าที่ตาเห็น) การสอนวิธีบวกให้กับเด็ก มี 1 เพิ่มอีก 1 = 2  มี 2 เพิ่มอีก 1 = 3 ***

         6.  การจัดลำดับ  จากเตี้ยไปสูง ใครมาหลังมาก่อน หาค่าปริมาณ เปรียบเทียบ เรียงลำดับ ตัวเลขแทนค่า
         7.  รูปทรงและเนื้อที่  รูปทรงมีมิติความกว้าง + สูง ต้องมีเนื้อที่
         8.  การวัด  การหาค่า (ปริมาณ ความยาว) การวัดนึกถึงเครื่องมือในการวัด เช่น ไม้บรรทัด หน่วย ตลับเมตร สายวัด เป็นต้น
         9.  เซต  จับกลุ่ม ตาราง เป็นแถว ถ้านึกถึงเรื่องเซตในชีวิตประจำวัน เช่ร เซตเครื่องสำอาจ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
         10.  เศษส่วน  1) เด็กต้องรู้จักคำว่า ทั้งหมด จึงสัมพันธ์กับเศษส่วน 2) คำว่า ครึ่ง เช่น แบ่งเค้กให้เด็ก เป็น 2 ส่วนแล้วบอกเด็กว่า ครูจะให้เค้กเด็กไปครึ่งหนึ่งของเค้กเหทั้งหมด
         11.  การทำตามแบบหรือลวดลาย  ต้องเรียนรู้หรือพัฒนาตามแบบให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบและต่อให้สมบูรณ์
         12.  การอนุรักษ์  หรือการคงที่ด้านปริมาณ ตอบตามที่ตาเห็น จำนวนเท่าไรคือเท่านั้น

_________________________________________________________________________________

         เยาวพา  เดชะคุปต์ (2542 : 87-88) ได้เสนอการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ ที่ครูควรศึกษาเพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก  ดังนี้
         1.  การจัดกลุ่มหรือเซต  การรวมกลุ่ม กลุ่มที่เท่ากัน และความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลข
         2.  จำนวน 1-10  เหมือนกันกับ นิตยา ประพฤติกิจ
         3.  ระบบจำนวน  เรื่องของตัวเลข ค่าของตัวเลข
         4.  ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ  เช่น เซตรวม การแยกเซต
         5.  การรวมกลุ่ม  คล้ายกับเรื่องของเศษส่วนของนิตยา ประพฤติกิจ
         6.  ลำดับที่  คล้ายกับเรื่องเรียงลำดับของนิตยา  ประพฤติกิจ
         7.  การวัด  คล้ายกับเรื่องการวัดของนิตยา  ประพฤติกิจ
         8.  รูปทรงเรขาคณิต
         9.  สถิติและกราฟ  ได้แก่ การศึกษาจากการบันทึก ทำแผนภูมิ การเปรียบเทียบต่างๆ 

_________________________________________________________________________________

งานที่อาจารย์สั่งในครั้งนี้

         1.  ให้นักศึกษาจับคู่ 2 คน โดยใช้เรื่องอะไรก็ได้แล้วนำนิยามของนิตยา ประพฤติกิจ 12 ข้อ มากำหนดเนื้อหาหรือทักษะจากเรื่องนั้น
         2.  สัปดาห์หน้าให้นักศึกษานำกล่องอะไรก็ได้มา 1 กล่อง