โค๊ดยินดีต้อนรับ

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่  5


วันศุกร์  ที่  30  พฤศจิกายน  2555


          วันนี้อาจารย์ได้ชี้แจงกิจกรรมเนื่องในวันพ่อแห่งชาติ ที่คณะศึกษาศาสตร์ได้จัดขึ้น ซึ่งมีงานดังนี้
          1.  วันจันทร์ ที่ 3 ธันวาคม 2555 เวลา 13.00 - 17.00 น. ที่หน้าคณะศึกษาศาสตร์ กิจกรรมคือ ลงนามถวายพระพร และร่วมกันร้องเพลงเฉลิมพระเกียรติ
          2.  วันอังคาร  ที่ 4 ธันวาคม 2555 เวลา  16.00 - 19.00 น. ที่ลานกีฬาในร่ม กิจกรรมคือ เต้นแอโรบิกเฉลิมพระเกียรติ


กิจกรรมในห้องเรียน

          ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยศึกษาควารประกอบด้วยหัวข้อของเนื้อหาหรือทักษะ (นิตยา  ประพฤติกิจ 2541: 17-19)  ดังนี้
          1. นับ  เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับ 1-10
          2.  ตัวเลข  เป็นสัญลักษณ์ทางภาษา
          3.  จับคู่  สื่อถึงรูปร่าง รูปทรง จำนวนที่เท่ากัน ตำแหน่ง เรียงลำดับ สูง-ต่ำ
          4.  การจัดประเภท  อาศัยการสร้างเกณฑ์  เช่น  กำหนดเกณฑ์สัตว์บกสัตว์น้ำ 2 เกณฑ์ เพื่อไม่ให้เด็กสับสน
          5.  การเปรียบเทียบ  เมื่อมีของ 2 สิ่ง สิ่งแรกคือ การหาค่า สิ่งที่สองคือ เอาค่ามาเปรียบเทียบตามที่ตาเห็น

          *** เด็กเล็กๆ ต้องกระทำเองเพื่อไปสร้างเส้นใยสมอง เช่น  มีนักเรียนสองแถว แถวที่ 1 มีจำนวน 8 คน แถวที่ 2 มีจำนวน 6 คน ถ้าอยากให้เด็กรู้ว่าแถวไหนน้อยหรือมากกว่า ทำได้โดย จับคู่แบบ 1:1 ว่าแถวไหนหมดก่อนแสดงว่าแถวนั้น้อยกว่า เด็กจะหาคำตอบได้ ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีเพียเจต์ (เด็กมองเท่าที่ตาเห็น) การสอนวิธีบวกให้กับเด็ก มี 1 เพิ่มอีก 1 = 2  มี 2 เพิ่มอีก 1 = 3 ***

         6.  การจัดลำดับ  จากเตี้ยไปสูง ใครมาหลังมาก่อน หาค่าปริมาณ เปรียบเทียบ เรียงลำดับ ตัวเลขแทนค่า
         7.  รูปทรงและเนื้อที่  รูปทรงมีมิติความกว้าง + สูง ต้องมีเนื้อที่
         8.  การวัด  การหาค่า (ปริมาณ ความยาว) การวัดนึกถึงเครื่องมือในการวัด เช่น ไม้บรรทัด หน่วย ตลับเมตร สายวัด เป็นต้น
         9.  เซต  จับกลุ่ม ตาราง เป็นแถว ถ้านึกถึงเรื่องเซตในชีวิตประจำวัน เช่ร เซตเครื่องสำอาจ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
         10.  เศษส่วน  1) เด็กต้องรู้จักคำว่า ทั้งหมด จึงสัมพันธ์กับเศษส่วน 2) คำว่า ครึ่ง เช่น แบ่งเค้กให้เด็ก เป็น 2 ส่วนแล้วบอกเด็กว่า ครูจะให้เค้กเด็กไปครึ่งหนึ่งของเค้กเหทั้งหมด
         11.  การทำตามแบบหรือลวดลาย  ต้องเรียนรู้หรือพัฒนาตามแบบให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบและต่อให้สมบูรณ์
         12.  การอนุรักษ์  หรือการคงที่ด้านปริมาณ ตอบตามที่ตาเห็น จำนวนเท่าไรคือเท่านั้น

_________________________________________________________________________________

         เยาวพา  เดชะคุปต์ (2542 : 87-88) ได้เสนอการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ ที่ครูควรศึกษาเพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก  ดังนี้
         1.  การจัดกลุ่มหรือเซต  การรวมกลุ่ม กลุ่มที่เท่ากัน และความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลข
         2.  จำนวน 1-10  เหมือนกันกับ นิตยา ประพฤติกิจ
         3.  ระบบจำนวน  เรื่องของตัวเลข ค่าของตัวเลข
         4.  ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ  เช่น เซตรวม การแยกเซต
         5.  การรวมกลุ่ม  คล้ายกับเรื่องของเศษส่วนของนิตยา ประพฤติกิจ
         6.  ลำดับที่  คล้ายกับเรื่องเรียงลำดับของนิตยา  ประพฤติกิจ
         7.  การวัด  คล้ายกับเรื่องการวัดของนิตยา  ประพฤติกิจ
         8.  รูปทรงเรขาคณิต
         9.  สถิติและกราฟ  ได้แก่ การศึกษาจากการบันทึก ทำแผนภูมิ การเปรียบเทียบต่างๆ 

_________________________________________________________________________________

งานที่อาจารย์สั่งในครั้งนี้

         1.  ให้นักศึกษาจับคู่ 2 คน โดยใช้เรื่องอะไรก็ได้แล้วนำนิยามของนิตยา ประพฤติกิจ 12 ข้อ มากำหนดเนื้อหาหรือทักษะจากเรื่องนั้น
         2.  สัปดาห์หน้าให้นักศึกษานำกล่องอะไรก็ได้มา 1 กล่อง         


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น