การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
หน่วยเรื่อง กล้วย
เตรียมความพร้อมด้วยเสียงเพลง หากว่าเรากำลังสบาย จงตบมือพัน แป๊ะ แป๊ะ หากว่าเรากำลังมีสุขไม่มีทุกข์เรื่องใดทุกสิ่งจงตบมือพัน แป๊ะ แป๊ะ
ก่อนเข้าสู่บทเรียนของเด็ก เด็กๆ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เด็กๆ เรียนเรื่องอะไรไปบ้างคะ (สมมุติว่าเรื่องข้าว) ข้าวก็เป็นอาหารหลักที่เด็กๆ ต้องรับประทานเข้าไปในร่างกาย ผลไม้ก็เหมือนกันคะ อย่างกล้วยนะคะ
1. เด็กๆ เคยกินกล้วยอะไรบ้างคะ / เด็กๆ รู้จักกล้วยอะไรบ้างคะ (ขณะที่เด็กๆ ตอบครูผู้สอนต้องเขียนคำตอบเด็กๆ ในรูปแบบมายเมปเพื่อให้เด็กๆ ให้ข้อมูลได้ชัดเจน)
2. เด็กๆ รู้ไหมคะว่าในตะกร้าที่ครูถืออยู่นี้มีอะไรอยู่ข้างใน ถ้ามีเด็กคนไหนตอบถูกให้ปรบมือให้ตัวเองนะคะ
- เปิดตะกร้าให้เด็กๆ ดู (เด็กที่ตอบถูกจะปรบมือ) แล้วยกกล้วยแต่ละหวีให้เด็กได้กะปริมาณ (ครูหยิบกล้วยไข่ยกขึ้นแล้วบอกว่ากล้วยชนิดนี้เขาชื่อว่า "กล้วยไข่คะ" เด็กๆ ลองพูดสิคะ/ครูหยิบกล้วยหอมยกขึ้นแล้วบอกว่ากล้วยชนิดนี้เขามีชื่อว่า "กล้วยหอมคะ" เด็กๆ ลองพูดสิคะ)
- เด็กๆ คะ เรามาช่วยกันนับกันนะคะว่ากล้วยมีทั้งหมดกี่ผล
3. การจัดกลุ่ม ครูตั้งเกณฑ์คือ ให้เด็กๆ หยิบกล้วยที่มีขนาดเล็กลงในตะกร้าที่ครูกำหนด
4. การแยกประเภท ให้เด็กๆ ออกมาหยิบกล้วยไข่แล้วนำมาใส่ไว้ในตะกร้าทางด้านขวามือของเด็กนะคะ และหยิบกล้วยหอมมาใส่ไว้ในตะกร้าทางด้านซ้ายมือของเด็กนะคะ (มือซ้ายอยู่ไหนคะ/ขวาอยู่ไหนคะ)
5. การเปรียบเทียบ ให้เด็กๆ ส่งตัวแทนเด็กผู้หญิง 1 คน เด็กผู้ชาย 1 คน มายืนอยู่ตรงตะกร้ากล้วยหอมและกล้วยไข่ ให้เด็กผู้หญิงกับเด็กผู้ชายหยิบกล้วยในตะกร้าของตนเองออกมาทีละ 1 ชิ้นและพร้อมๆ กัน ถ้าคนไหนกล้วยในตะกร้าหมดก่อนแสดงว่ากล้วยในตะกร้ามีจำนวนน้อยกว่าตะกร้าอีกใบหนึ่ง แต่ถ้ากล้วยในตะกร้ายังเหลืออยู่แสดงว่ากล้วยในตะกร้าทีจำนวนมากกว่าตะกร้าอีกใบหนึ่ง
6. นำเสนอข้อมูล
ภาพ : นำเสนอข้อมูล เพื่อให้เด็กเห็นความแตกต่างที่ชัดเจน |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น