โค๊ดยินดีต้อนรับ

วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 9



วันศุกร์ ที่  28  ธันวาคม  2555



ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุดช่วงเทศกาลปีใหม่




วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 8



วันศุกร์  ที่  21  ธันวาคม  2555



ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยกำหนดให้เป็นช่วงวันการสอบกลางภาค

สัปดาห์ที่ 7



วันศุกร์  ที่  14  ธันวาคม  2555


กิจกรรมในห้องเรียน

         อาจารย์ถามนักศึกษาว่า "เมื่อพูดถึงมาตรฐาน คุณนึกถึงอะไร"
                     นักศึกษาร่วมกันตอบ 1.  การวัด 2.  ความน่าเชื่อถือ  3.  เกณฑ์ ฯลฯ

         อาจารย์ถามว่า "ถ้านึกถึงมาตรฐานในชีวิตประจำวัน คุณนึกถึงอะไร"
                     นักศึกษาร่วมกันตอบ 1.  ของกินที่จะกินมีคุณภาพไหม
                                                       2.  เครื่องสำอางที่ใช้มีคุณภาพไหม

         อาจารย์ได้อธิบายกรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์ คือ ทั้งควบคุมและเป็นแนวทางให้เราได้ จัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขากำหนดขึ้นมา

         อาจารย์ถามว่า "สสวท ย่อมาจากคำว่าอะไร" นักศึกษาตอบว่า สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" อาจารย์ถามต่อว่า "ทำไหมมาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในเมื่อชื่อยังไม่เห็นบอกเลย" อาจารย์อธิบายว่า คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่สำคัญเราจึงควรจัดคณิตศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยให้เหมาะสม

         อาจารย์ถามว่า "เราจะทำยังงัยให้เด็กมารักคณิตศาสตร์ สนใจคณิตศาสตร์มากขึ้น"
              1.  นึกถึงพัฒนาการของเด็ก เพราะพัฒนาการจะบอกว่าเด็กสามารถทำอะไรบ้าง
              2.  เด็กเรียนรู้จากการเล่น ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้เด็กลงมือกระทำ ให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ
              3.  เด็กเรียนรู้จากเสียงเพลง ควรแต่งเพลงที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้กับเด็กและให้เด็กร้องเอง

         อาจารย์อธิบาย แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย 2 สาระแรก
               สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
               สาระที่ 2 การวัด
_________________________________________________________________________________

งานที่สั่งในครั้งนี้

1.  ศึกษาเพิ่มเติมจากหนังสือ คู่มือกรอบมาตรฐานการเรียรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
2.  สื่อ กลุ่มละ 10-12 คน  ส่งหลังปีใหม่

                 

วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 6


วันศุกร์  ที่ 7  ธันวาคม  2555


กิจกรรมในห้องเรียน

          อาจารย์ให้นักศึกษานำกล่องที่สั่งในสัปดาห์ที่แล้วมา แล้วมาวิเคราะห์ร่วมกันว่า การนำกล่องมาสอนเป็นคณิตศาสตร์สอนอะไรได้บ้าง และสอนได้อย่างไร
          จากนิยามของนิตยา  ประพฤติกิจ  
                 เศษส่วน  เด็กทราบไหมว่ากล่องทั้งหมดมีกี่กล่อง ให้เด็กๆ หยิบกล่องยาสีไปทางด้านซ้ายมือ
                 การทำตามแบบ  ครูเรียงกล่อง แล้วเด็กเรียงตาม
                 เซต  เซตเครื่องใช้ในห้องน้ำกับเครื่องยา
                 จัดประเภท  ยาสีฟันอยู่กับยาสีฟัน
                 
         อาจารย์ให้นักศึกษาร่วมกลุ่มกัน กลุ่มละ 11 คน แล้วบอกว่ากล่องของแต่ละคนในเมื่อดูแล้วนึกถึงอะไร ซึ่งกล่องดิฉันคือ  

ดิฉันตอบอาจารย์ว่า เป็นโทรศัพท์บ้าน

         กลุ่มทั้งหมดมี 3 กลุ่ม และอาจารย์ได้ให้โจทย์แต่ละกลุ่ม  ดังนี้
                กลุ่มที่ 1 คุยกันได้ วางแผนกันก่อน (ประดิษฐ์เป็นหุ่นยนต์)
                กลุ่มที่ 2 คุยกันได้ลงมาติดที่ละคน (ประดิษฐ์เป็นบ้าน)
                กลุ่มที่ 3 คุยกันไม่ได้ลงมาติดที่ละคน (ประดิษฐ์เป็นสถานีรถไฟ) กลุ่มของดิฉัน

ภาพกิจกรรมในห้องเรียน






วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่  5


วันศุกร์  ที่  30  พฤศจิกายน  2555


          วันนี้อาจารย์ได้ชี้แจงกิจกรรมเนื่องในวันพ่อแห่งชาติ ที่คณะศึกษาศาสตร์ได้จัดขึ้น ซึ่งมีงานดังนี้
          1.  วันจันทร์ ที่ 3 ธันวาคม 2555 เวลา 13.00 - 17.00 น. ที่หน้าคณะศึกษาศาสตร์ กิจกรรมคือ ลงนามถวายพระพร และร่วมกันร้องเพลงเฉลิมพระเกียรติ
          2.  วันอังคาร  ที่ 4 ธันวาคม 2555 เวลา  16.00 - 19.00 น. ที่ลานกีฬาในร่ม กิจกรรมคือ เต้นแอโรบิกเฉลิมพระเกียรติ


กิจกรรมในห้องเรียน

          ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยศึกษาควารประกอบด้วยหัวข้อของเนื้อหาหรือทักษะ (นิตยา  ประพฤติกิจ 2541: 17-19)  ดังนี้
          1. นับ  เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับ 1-10
          2.  ตัวเลข  เป็นสัญลักษณ์ทางภาษา
          3.  จับคู่  สื่อถึงรูปร่าง รูปทรง จำนวนที่เท่ากัน ตำแหน่ง เรียงลำดับ สูง-ต่ำ
          4.  การจัดประเภท  อาศัยการสร้างเกณฑ์  เช่น  กำหนดเกณฑ์สัตว์บกสัตว์น้ำ 2 เกณฑ์ เพื่อไม่ให้เด็กสับสน
          5.  การเปรียบเทียบ  เมื่อมีของ 2 สิ่ง สิ่งแรกคือ การหาค่า สิ่งที่สองคือ เอาค่ามาเปรียบเทียบตามที่ตาเห็น

          *** เด็กเล็กๆ ต้องกระทำเองเพื่อไปสร้างเส้นใยสมอง เช่น  มีนักเรียนสองแถว แถวที่ 1 มีจำนวน 8 คน แถวที่ 2 มีจำนวน 6 คน ถ้าอยากให้เด็กรู้ว่าแถวไหนน้อยหรือมากกว่า ทำได้โดย จับคู่แบบ 1:1 ว่าแถวไหนหมดก่อนแสดงว่าแถวนั้น้อยกว่า เด็กจะหาคำตอบได้ ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีเพียเจต์ (เด็กมองเท่าที่ตาเห็น) การสอนวิธีบวกให้กับเด็ก มี 1 เพิ่มอีก 1 = 2  มี 2 เพิ่มอีก 1 = 3 ***

         6.  การจัดลำดับ  จากเตี้ยไปสูง ใครมาหลังมาก่อน หาค่าปริมาณ เปรียบเทียบ เรียงลำดับ ตัวเลขแทนค่า
         7.  รูปทรงและเนื้อที่  รูปทรงมีมิติความกว้าง + สูง ต้องมีเนื้อที่
         8.  การวัด  การหาค่า (ปริมาณ ความยาว) การวัดนึกถึงเครื่องมือในการวัด เช่น ไม้บรรทัด หน่วย ตลับเมตร สายวัด เป็นต้น
         9.  เซต  จับกลุ่ม ตาราง เป็นแถว ถ้านึกถึงเรื่องเซตในชีวิตประจำวัน เช่ร เซตเครื่องสำอาจ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
         10.  เศษส่วน  1) เด็กต้องรู้จักคำว่า ทั้งหมด จึงสัมพันธ์กับเศษส่วน 2) คำว่า ครึ่ง เช่น แบ่งเค้กให้เด็ก เป็น 2 ส่วนแล้วบอกเด็กว่า ครูจะให้เค้กเด็กไปครึ่งหนึ่งของเค้กเหทั้งหมด
         11.  การทำตามแบบหรือลวดลาย  ต้องเรียนรู้หรือพัฒนาตามแบบให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบและต่อให้สมบูรณ์
         12.  การอนุรักษ์  หรือการคงที่ด้านปริมาณ ตอบตามที่ตาเห็น จำนวนเท่าไรคือเท่านั้น

_________________________________________________________________________________

         เยาวพา  เดชะคุปต์ (2542 : 87-88) ได้เสนอการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ ที่ครูควรศึกษาเพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก  ดังนี้
         1.  การจัดกลุ่มหรือเซต  การรวมกลุ่ม กลุ่มที่เท่ากัน และความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลข
         2.  จำนวน 1-10  เหมือนกันกับ นิตยา ประพฤติกิจ
         3.  ระบบจำนวน  เรื่องของตัวเลข ค่าของตัวเลข
         4.  ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ  เช่น เซตรวม การแยกเซต
         5.  การรวมกลุ่ม  คล้ายกับเรื่องของเศษส่วนของนิตยา ประพฤติกิจ
         6.  ลำดับที่  คล้ายกับเรื่องเรียงลำดับของนิตยา  ประพฤติกิจ
         7.  การวัด  คล้ายกับเรื่องการวัดของนิตยา  ประพฤติกิจ
         8.  รูปทรงเรขาคณิต
         9.  สถิติและกราฟ  ได้แก่ การศึกษาจากการบันทึก ทำแผนภูมิ การเปรียบเทียบต่างๆ 

_________________________________________________________________________________

งานที่อาจารย์สั่งในครั้งนี้

         1.  ให้นักศึกษาจับคู่ 2 คน โดยใช้เรื่องอะไรก็ได้แล้วนำนิยามของนิตยา ประพฤติกิจ 12 ข้อ มากำหนดเนื้อหาหรือทักษะจากเรื่องนั้น
         2.  สัปดาห์หน้าให้นักศึกษานำกล่องอะไรก็ได้มา 1 กล่อง         


วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 4 



วันศุกร์ ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


ไม่มีการเรียนการสอน               
 เนื่องจากฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์  กำหนดจัด "โครงการกีฬาสีศึกษาพันธ์"



หนังสือขออนุญาตอาจารย์ไปเข้าร่วมกิจกรรม




ได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว และได้รับหน้าที่เป็นกองเชียร์



สัปดาห์ที่ 3


วันศุกร์ ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


กิจกรรมในห้องเรียน

          -  อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มละ 3 คน นำงานที่หามาในสัปดาห์ที่ 2 มาแชร์กับเพื่อนๆ ในกลุ่ม เพื่อสรุปเป็นความคิดของกลุ่มตัวเอง      
          -  อาจารย์ให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มนำเสนองานตามหัวข้อที่อาจารย์กำหนด โดยกลุ่มของข้าพเจ้าได้หัวข้อ "ทฤษฎีของคณิตศาสตร์" และข้าพเจ้าเป็นตัวแทนกลุ่มนำเสนองาน                  



1. ความหมายของคณิตศาสตร์             
         สรุปโดย 1. นางสาวพลอยไพลิน อาจหาญ
                    2. นางสาวชลันดา คำจันทร์
                    3. นางสาวสมฤดี โพธิกะ
           ความหมายคณิตศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับตัวเลข มีการใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เป็นภาษาสากลที่มีโครงสร้างแน่นอนและมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน (อ้างอิงจากมาร์เชล สโตน , ฉวีวรรณ กีรติกร พฤติกรรมการสอนการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาและศึกษาและศักดา บุญโต ความคิดเชิงวิเคราะห์)

2. จุดมุ่งหมายของคณิตศาสตร์ 
          เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานในการคิดและคำนวณ สามารถนำประสบการณ์ทางด้านความรู้ ความคิด และทักษะที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ และใช้ในชีวิตประจำวัน (อ้างอิงจาก การวัดและประเมินผลในชั้นเรียนกลุ่มทักษะคณิตศาสตร์ พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา-เรวัตร พรหมเพ็ญ และความคิดชิงวิเคราะห์-ศักดิ์ บุญโต และสุเทพ จันทร์สมศักดิ์)

3. การทฤษฎีของคณิตศาสตร์ 
          ลำดับของการเรียนการสอนในคณิตศาสตร์ เริ่มจากากรทบทวนความรู้เดิมแล้วสอนความรู้ใหม่ด้วยการแสดงความคิดความพร้อม การฝึกฝนหรือฝึกทักษะการเสริมแรงและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน (อ้างอิงจาก ดีนส์ เอกสารเสริมความรู้ครูคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา, เรวัตร พรหมเพ็ญ พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา และกรมวิชาการ) 

4. ขอบเขตการเรียนการสอนคณิตศาสตร์  
          ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ คุณครูและนักเรียนต้องมีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานเป็นทุกเรื่องก่อน ซึ่งเนื้อหาคณิตศาสตร์แต่ละพื้นฐานต้องมีความสัมพันธ์กันและเหมาะสมกับวัยหรือวุฒิภาวะของผู้เรียน (อ้างอิงจาก เอกสารเสริมความรู้ครูคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา เล่มหนึ่ง , สภาครูคณิตศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา และพฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา)

5. หลักการทางคณิตศาสตร์
1. กำหนดจุดมุ่งหมาย
2. จัดกิจกรรมให้หลายหลาย
3. การเรียนรู้ จากการค้นพบ
4. การจัดกิจกรรมที่มีระบบ
5. ฝึกหัดหลังจากที่เรียนรู้
          ดังนั้น กระบวนการสอนถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญสุดเพราะถ้าครูสอนทำแบบฝึกหัดแล้วเฉลย เด็กจะไม่ได้ฝึกทักษะ ทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่าย ไม่อยากเรียน และคิดว่าคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ยาก(อ้างอิงจาก พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา-เรวัตร พรหมเพ็ญ)


สัปดาห์ที่ 2


วันศุกร์ ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


กิจกรรมในห้องเรียน

          
          - อาจารย์ให้นักศึกษาลิงค์บล็อกก่อนเริ่มเรียน 
          - อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนตามคำบอกเป็นภาษาอังกฤษ มีดังนี้ คณิตศาสตร์ (Mathematics) ประสบการณ์ (Experience) และปฐมวัย (Childhood)
          - ทฤษฎีของเพียเจต์
          - อาจารย์ให้มองล้อมตัว เพื่อมองหาอะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
              ^ โปรเจคเตอร์ (มีลักษณะสี่เหลี่ยม)
                 บอร์ดหน้าห้องเรียน (สี่เหลี่ยมผืนผ้า)
                 เศษกาวสองหน้าที่บอร์ด (สอนจำนวนนับ)
                 ลำโพง (มีลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า)
                 จำนวนนักศึกษา (สอนจำนวนนับ) ^
          - ระดับน้ำในแก้ว 2 ใบนี้เท่ากัน แต่แก้ว 2 ใบมีความสูง-ต่ำต่างกัน
                       

         
          จากภาพ ถ้าถามเด็กๆ ว่า "น้ำแก้วไหนเยอะที่สุด" เด็กๆ จะตอบตามที่ตาเห็นคือ ใบที่ 1 เยอะสุดเพราะมีรูปทรงสูงกว่าใบที่ 2


งานที่สั่งครั้งต่อไป


          สำรวจหนังสือคณิตศาสตร์ที่วิทยบริการมหาวิทยาลัย
               - หนังสือคณิตศาสตร์ (บอกชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ปี พ.ศ. เลขหมู่หนังสือ สำนักพิมพ์)
               - หาความหมายของคณิตศาสตร์ 1 คน (ชื่อหนังสือ เลขหน้า ชื่อบุคคล)
               - จุดมุ่งหมาย / เป้าหมาย / วัตถุประสงค์ของการสอนคณิตศาสตร์
               - ทฤษฎีการสอนของคณิตศาสตร์
               - ขอบข่าย / ขอบเขตของคณิตศาสตร์
               - หลักการสอน / การจัดประสบการณ์ของคณิตศาสตร์


วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 1



วันศุกร์ ที่ 2 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2555



          ข้าพเจ้าไม่ได้มาเรียนในวันดังกล่าว เนื่่องจากผ่าฟันคุดแล้วมีอาการข้างเคียงเล็กน้อย <พร้อมใบรับรองแพทย์> แต่ได้สอบถามจากเพื่อนๆ ร่วมชั้นเรียน ดังนี้
          วันนี้อาจารย์ชี้แจงข้อตกลงก่อนเรียนระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 
          1.  เรื่องของการทำบล็อก
          2.  การแต่งกายให้เป็นระเบียบเรียบร้อย 

          กิจกรรมในห้องเรียน
          1.  เขียนประโยค 2 ประโยค เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คืออะไร ?
          2.  เขียนความคาดหวังในการเรียนรายวิชานี้ว่าจะได้ความรู้หรือประสบการณ์อย่างไร ?
               = ปกติข้าพเจ้าเป็นคนไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์เลย แต่ได้มาสัมผัสคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เป็นเพลง / ทำนอง เหมือนข้าพเจ้าเองได้เรียนอนุบาลอีกครั้งเลยคะ ข้าพเจ้าชอบและสนุกไปกับวิชานี้มากขึ้นถ้าสมัยก่อนมีแนวการสอนแบบนี้ก็คงจะดีมาก ข้าพเจ้าเลยหวังว่าจะได้นำองค์ความรู้ที่ได้จากวิชานี้ สามารถแต่งเป็นเพลงทำนองให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์เพื่อให้เด็กๆ ปฐมวัยจำได้ง่ายขึ้นจากที่จะขึ้นกระดาษหรือสอนนับ ถ้าเราลองนำทำนองเข้าไปก็จะสนุกไม่น้อยเลย

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555






                 ชื่อ-นามสกุล                     :  นางสาวสมฤดี   โพธิกะ
                 นามขี้เล่นแต่ไม่เล่นขี้         :  ปุ้งเหน่ง (Pongneng)  อายุ  20 ปี
                 E-mail                             : pongrng_35@hotmail.com
                 เบอร์โทรศัพท์                   :  084-6021139 
                 ลืมตาดูโลก                      :  วันเสาร์ ที่ 5 เดือนกันยายน พ.ศ. 2535 เวลา 04.45 น. ปีวอก
                 ที่หลบภัยน้ำท่วมปัจจุบัน    :  หอพักบ้านพรธนพัทธ์ เลขที่ 109/7 ซอยรัชดาภิเษก 36
                             แยก 9-5   ถนนรัชดาภิเษก แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
                คติประจำใจ                       :  จะรู้ได้ไงว่าทำได้ ถ้าไม่ลองทำ
                อาหารจานโปรด                 :  ข้าวพัดปู (13 เหรียญ) ส้มตำทอด (นครปฐม)
                สัตว์เลี้ยงที่ชอบ                 :  สุนัข กระต่าย หนูแฮมเตอร์