โค๊ดยินดีต้อนรับ

วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย


เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสม

ปริญญานิพนธ์
ของ
จงรัก  อ่วมมีเพียร

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Mind Mapping สรุปงานวิจัย

        งานวิจัยเล่มนี้ได้ทำการทดลองกับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีอายุระหว่าง 4-5 ปีโรงเรียนเกาะกลอย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1 เพื่อศึกษาระดับของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการทดลองและเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการทดลอง โดยจะใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจงเลือกชั้นอนุบาลปีที่ 1 มา 1 ห้องเรียนโดยเป็นห้องที่ครูและเด็กให้ความร่วมมือในการทำวิจัยแล้วทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นนำคะแนนทีเด็กทำได้ไปเรียงจากมากไปหาน้อยแล้วหาเด็กที่มีคะแนนต่ำสุด 15 คน เพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่างในการทำการวิจัย การสร้างเครื่องมือในการทำวิจัยผู้ทำวิจัยก็ได้ศึกษา รวบรวม และปรึกษาผู้เชียวชาญจนสำเร็จแล้วนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างทดลอง
          การทดลองได้ทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปี 2547 เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาที ได้ทดสอบ Pretest กับเด็กทั้งห้องเป็นเวลา 4 วัน วันละ 1 ชุดแล้วหาคะแนนของเด็กที่มีต่ำสุด 15 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างในการทำการวิจัย ผู้วิจัยดำเนินการทดลองโดยการจัดกิจกรรมศิลปะสื่อผสมที่ดำเนินกับกลุ่มตัวอย่าง ส่วนกลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างให้อยู่ในความดูแลของครูประจำชั้นต่อไป
         สรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการจัดกิจกรรมจากการวิจัยมีคะแนนพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในด้านการจำแนกเปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ รู้ค่าจำนวนสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย





หน่วยเรื่อง กล้วย

         เตรียมความพร้อมด้วยเสียงเพลง หากว่าเรากำลังสบาย จงตบมือพัน แป๊ะ แป๊ะ หากว่าเรากำลังมีสุขไม่มีทุกข์เรื่องใดทุกสิ่งจงตบมือพัน แป๊ะ แป๊ะ
         ก่อนเข้าสู่บทเรียนของเด็ก  เด็กๆ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เด็กๆ เรียนเรื่องอะไรไปบ้างคะ (สมมุติว่าเรื่องข้าว) ข้าวก็เป็นอาหารหลักที่เด็กๆ ต้องรับประทานเข้าไปในร่างกาย ผลไม้ก็เหมือนกันคะ อย่างกล้วยนะคะ

1.  เด็กๆ เคยกินกล้วยอะไรบ้างคะ / เด็กๆ รู้จักกล้วยอะไรบ้างคะ (ขณะที่เด็กๆ ตอบครูผู้สอนต้องเขียนคำตอบเด็กๆ ในรูปแบบมายเมปเพื่อให้เด็กๆ ให้ข้อมูลได้ชัดเจน)
2.  เด็กๆ รู้ไหมคะว่าในตะกร้าที่ครูถืออยู่นี้มีอะไรอยู่ข้างใน ถ้ามีเด็กคนไหนตอบถูกให้ปรบมือให้ตัวเองนะคะ
     - เปิดตะกร้าให้เด็กๆ ดู (เด็กที่ตอบถูกจะปรบมือ) แล้วยกกล้วยแต่ละหวีให้เด็กได้กะปริมาณ (ครูหยิบกล้วยไข่ยกขึ้นแล้วบอกว่ากล้วยชนิดนี้เขาชื่อว่า "กล้วยไข่คะ" เด็กๆ ลองพูดสิคะ/ครูหยิบกล้วยหอมยกขึ้นแล้วบอกว่ากล้วยชนิดนี้เขามีชื่อว่า "กล้วยหอมคะ" เด็กๆ ลองพูดสิคะ)
     - เด็กๆ คะ เรามาช่วยกันนับกันนะคะว่ากล้วยมีทั้งหมดกี่ผล
3.  การจัดกลุ่ม ครูตั้งเกณฑ์คือ ให้เด็กๆ หยิบกล้วยที่มีขนาดเล็กลงในตะกร้าที่ครูกำหนด
4.  การแยกประเภท ให้เด็กๆ ออกมาหยิบกล้วยไข่แล้วนำมาใส่ไว้ในตะกร้าทางด้านขวามือของเด็กนะคะ และหยิบกล้วยหอมมาใส่ไว้ในตะกร้าทางด้านซ้ายมือของเด็กนะคะ (มือซ้ายอยู่ไหนคะ/ขวาอยู่ไหนคะ)
5.  การเปรียบเทียบ ให้เด็กๆ ส่งตัวแทนเด็กผู้หญิง 1 คน เด็กผู้ชาย 1 คน มายืนอยู่ตรงตะกร้ากล้วยหอมและกล้วยไข่ ให้เด็กผู้หญิงกับเด็กผู้ชายหยิบกล้วยในตะกร้าของตนเองออกมาทีละ 1 ชิ้นและพร้อมๆ กัน ถ้าคนไหนกล้วยในตะกร้าหมดก่อนแสดงว่ากล้วยในตะกร้ามีจำนวนน้อยกว่าตะกร้าอีกใบหนึ่ง แต่ถ้ากล้วยในตะกร้ายังเหลืออยู่แสดงว่ากล้วยในตะกร้าทีจำนวนมากกว่าตะกร้าอีกใบหนึ่ง
6.  นำเสนอข้อมูล  


ภาพ : นำเสนอข้อมูล เพื่อให้เด็กเห็นความแตกต่างที่ชัดเจน

สัปดาห์ที่ 16



วันศุกร์  ที่  15 กุมภาพันธ์  2556


กิจกรรมในห้องเรียน

         อาจารย์นำผลงานของเด็กๆ ที่ทำงานร่วมกันกับครูผู้สอนและเพื่อนๆ ในห้องเรียนมาเป็นตัวอย่างในการสอนสำหรับนักศึกษาว่าที่ครูปฐมวัยในอนาคต มีเนื้อหาดังต่อไปนี้


ภาพ : ตารางเปรียบเทียบรสนมที่เด็กๆ ชอบที่สุด

ภาพ : มายเมปอาหารที่มีนมเป็นส่วนประกอบ


ภาพ : การเปรียบเทียบความแตกต่าง ความเหมือนของเด็กหญิงและเด็กชาย



ภาพ : มายเมปการวิเคราะห์ส่วนผลของขนมครกข้าว ครูและเด็กทำร่วมกัน

         และยังมีเพื่อนๆ อีก 2 กลุ่มได้สอบสอนซึ่งมีเรื่อง ข้าวและสับปะรด

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 15 



วันศุกร์  ที่  8  กุมภาพันธ์  2556


กิจกรรมในห้องเรียน
         อาจารย์ให้ส่งมายเมปมาตรฐานคณิตศาสตร์และอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมาสอบสอนซึ่งวันนี้สอบสอนแค่ 2 กลุ่ม แต่ดิฉันจะขอยกตัวอย่างกลุ่มแรกเรื่อง "ผลไม้" ดังนี้

วันจันทร์  เรื่อง ชนิดของผลไม้

ภาพ : มายเมปชนิดของผลไม้ที่เด็กๆ ได้ตอบมา
การสอน
  1. เด็กๆ ขา เด็กๆ ว่าอะไรอยู่ในตะกร้า (ซึ่งมีผ้าคลุมไว้ทำให้เด็กได้กะค่าสิ่งของที่อยู่ในตะกร้า)
  2. ถ้าครูเปิดผ้าออกแล้วมีคำตอบของเด็กอยู่ในตะกร้านี้ให้เด็กปรบมือให้ตนเองนะคะ (ครูเปิดผ้าออก)
  3. การนับ มีอยู่ 1 เพิ่มอีก 1 เป็น 2 มีอยู่ 2 เพิ่มอีก 1 เป็น 3 ....... 6 (พูดและปักผลไม้ลงไปให้เด็กเห็นลำดับ) 
  4. ครูใช้ตัวเลขกำกับ ใช้แทนค่า หรือมีแผ่นกระดาษให้เด็กเขียนแล้วเอามาวางตรงค่านั้น
  5.  จัดกลุ่ม ครูตั้งเกณฑ์ คือ ให้เด็กๆ หยิบผลไม้ที่มีสีแดงมาปักไว้ข้างหน้า (การปักต้องปักมาจากทางซ้ายเพื่อจะได้เรียงลำดับได้ถูกต้อง)
  6.  ผลไม้ที่มีสีแดงมี 2 ผลของจำนวนทั้งหมด กับผลไม้ที่ไม่มีสีแดงมี 4 ผลของจำนวนทั้งหมด

วันอังคาร  เรื่อง ลักษณะ  
การสอน
  1.  ส่งผลส้มกับสับปะรดให้เด็กๆ ได้สัมผัส
  2. ให้เด็กช่วยกันตอบ ดังนี้


ภาพ : ลักษณะที่เด็กช่วยกันตอบ

  3.  นำเสนอข้อมูลให้เด็กเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น


ภาพ : นำเสนอข้อมูลแสดงการเปรียบเทียบระหว่างส้มกับสับปะรด

         เด็กจำได้ไหมคะ เมื่อวานเราเรียนเรื่องชนิดกับลักษณะไปแล้ว ส้มกับสับปะรดมีเส้นผิวที่เหมือนกัน สับปะรดจะมีกลิ่นหอมกว่าส้มใช่ไหมคะ

วันพุธ  เรื่อง ประโยชน์
การสอน กลุ่มนี้ใช้วิธีการเล่านิทาน ถ้าถามเด็กๆ ว่าชอบดื่มน้ำอะไรมากกว่ากันระหว่างน้ำส้มกับน้ำสับปะรด สามารถแสดงกราฟได้ ดังนี้


ภาพ : กราฟแสดงผลสรุป : ได้ว่าเด็กๆ ชอบดื่มน้ำส้มมากกว่าน้ำสับปะรด

วันพฤหัสบดี  เรื่อง การทำอาหาร (แบ่งครึ่งกับแบ่ง 2 ส่วน ต่างกันคือ แบ่งครึ่งจะแบ่งได้เท่ากันแต่แบ่ง 2 ส่วน แบ่งยังไงก็ได้ขอให้ได้ 2 ส่วน)
.................................................................................................................................
งานที่สั่งครั้งต่อไป
         อาจารย์ให้นักศึกษากลุ่มที่ยังไม่ได้สอบสอนในสัปดาห์นี้ ให้สอบสอนในสัปดาห์หน้า