โค๊ดยินดีต้อนรับ

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 14



วันศุกร์  ที่  1 กุมภาพันธ์ 2556


         ไม่มีการเรียนการสอน แต่อาจารย์ได้มอบหมายงานให้ทำคือ เตรียมตัวให้พร้อมในการนำเสนองานและซักซ้อมมาให้ดี และอาจารย์จะนัดชดเชย แต่ยังไม่มีกำหนดที่แน่นอน



สัปดาห์ที่ 13



วันศุกร์  ที่  25  มกราคม  2556



กิจกรรมให้ห้องเรียน


จากภาพ : เนื้อหาที่เรียนในวันนี้


ภาพ : ตัวอย่างเพิ่มเติมของการเปรียบเทียบ

ภาพ : ตัวอย่างการแยกกลุ่มและการรวมกลุ่ม

         คำพูดโดนๆ สำหรับครูปฐมวัย

         ** เด็กได้ลงมือกระทำเอง เป็นการเรียนรู้ของเด็ก **                  

_________________________________________________________________
งานที่สั่งในครั้งต่อไป

         1.  ให้นักศึกษาเตรียมตัวนำเสนอการสอนหน้าชั้นเรียนในวันศุกร์  ที่  8 มกราคม 2556

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 12

วันศุกร์  ที่  18  มกราคม  2556



กิจกรรมในห้องเรียน

         - อาจารย์ให้ส่งงาน Mind Mapping งานกลุ่ม พร้อมแนบงานเดี่ยวไปส่ง อาจารย์ได้ให้คำแนะนำในผลงานที่นักศึกษาส่ง


ภาพงานกลุ่ม เรื่อง "กล้วย"

ภาพงานเดี่ยว เรื่อง "ชนิดของกล้วย"


         - วิธีการเลือกของหน่วยที่จะนำมาสอนเด็กปฐมวัย
                1.  เรื่องใกล้ตัว
                2.  มีประโยชน์กับเด็ก
                3.  เด็กรู้จัก
                4.  เสริมสร้างพัฒนาการ
                5.  เป็นเรื่องง่ายๆ เด็กทำได้
                6.  เหมาะสมกับวัยของเด็ก
                7.  มีความสำคัญกับเด็ก
                8.  มีผลกระทบกับเด็ก
         - ถ้าเด้กอยากรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อันดับแรกครูควรสำรวจโรงเรียนว่าอะไรที่จะสามารถนำมาบูรณาการได้ ที่ทำให้เด็กเข้าใจและตามกำลังเราเท่าที่ครูคนหนึ่งทำได้
         - อาจารย์ยกตัวอย่าง Mind Mapping ของเพื่อนซึ่งเป็นเรื่อง "ไข่"
               วันจันทร์
                     เรื่อง ชนิดของไข่
                           ครูคำถาม : เด็กๆ รู้จักไข่อะไรบ้าง แล้วเด็กๆ จะตอบชนิดของไข่นู้นนี้นั้นมาเยอะแยะ ซึ่งได้คณิตศาสตร์ด้านทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
                           ครูคำถาม : อยากรู้ไหมว่าในตะกร้าครูมีไข่อะไร เป็นการสอนให้เด็กมีส่วนร่วม ซึ่งเข้าสู่บทเรียน
                           ครู : เปิดตะกร้าให้เด็กดูว่ามีอะไรบ้าง > ไข่เป็ด ไข่ไก่
                           ครูถาม : ไข่ในตะกร้ามีทั้งหมดกี่ฟอง ได้คณิตศาสตร์เรื่องจำนวน เศษส่วน การนับ (การสอนนับกับเด็กที่เล็กๆ คือ นับ 1 เพิ่มอีก 1 เป็น 2 มี 2 เพิ่มอีก 1 เป็น 3 ............. เรื่อยๆ จนครบ 10)
                           การจัดกลุ่ม ตั้งเกณฑ์ไข่ที่มีสีขาว ให้เด็กหยิบไข่ที่มีสีขาวลงในตะกร้าที่ครูกำหนด
                           การแยกประเภท ไข่ไก่มี 5 ฟอง ไข่เป็ดมี 5 ฟอง 
                           เปรียบเทียบ จับคู่ 1:1 (เรื่องจำนวน)  พอจับคู่ไข่เป็ด ไข่ไก่โดยที่ไม่เหลือ สรุปว่าไข่ทั้ง 2 ประเภทเท่ากัน
                           นำเสนอข้อมูล  วาดรูปวงกลมแบ่งช่องให้ได้ 10 ช่อง แล้ววาดไข่เป็ด 5 ช่อง ไข่ไก่ 5 ช่องกำหนดรูปไข่ทั้ง 2 ประเภทนี้ เพื่อให้เด็กเห็นความแตกต่างที่ชัดเจน
                          จากการเรียนเรื่องไข่ เด็กได้ลงมือสัมผัสและกระทำเอง ทั้งการตอบคำถาม การหยิบไข่เอง
                          สรุป เด็กเรียนรู้หรือไข่ เด็กได้คณิตศาสตร์เรื่องการแยกแยะ วิเคราะห์ สัมผัส จำนวน และสังเกต

               วันอังคาร
                     เรื่อง ลักษณะ
                          สี  ไข่เป็ดสีขาว ไข่ไก่สีครีม



                          ขนาด  
                                -  ขนาดเท่ากันไหม > ไม่เท่า
                                -  ไข่ชนิดไหนเป็นยังไง > ไข่เป็ดใหญ่กว่า
                           รูปทรง  ไข่ทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นวงรี



                           ส่วนประกอบไข่เป็ด ไข่ไก่ > ไข่แดง ไข่ขาว และเปลือกไข่
                         - เด็กๆ ว่าไข่มีรูปร่างเหมือนอะไร เด็กได้เรื่องจินตนาการ การเชื่อมโยง และเปรียบเทียบ
                         - เขียนแผนภูมินำเสนองาน โดยวาดไข่เป็ด ไข่ไก่ โดยการวดรูปเด็กโตและเด็กเล็ก แทนขนาดของไข่ทั้ง 2 ชนิด คือ ไข่เป็ดให้ใช้รูปเด็กโตเพราะมีขนาดใหญ่กว่าไข่ไก่

***** เกร็ดข้อคิด : ครูจะทำอะไรก็ตามให้เด็กได้มีส่วนร่วมเท่าที่เด็กจะทำได้ *****                 _________________________________________________________________________________

งานที่สั่งในครั้งนี้
         อาจารย์ให้นักศึกษาทุกกลุ่มนำงานที่ส่งเมื่อต้นชั่วโมงกลับไปแก้ไขและปรับปรุงงานตัวเองทั้งงานกลุ่มและงานเดี่ยว               
                         
                                     

ประดิษฐ์สื่อคณิตศาสตร์ (แก้ไขและเพิ่มเติม)








ภาพสื่อปฏิทินที่แก้ไขและเพิ่มเติมแล้ว


วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 11

วันศุกร์  ที่  11  มกราคม  2556


กิจกรรมในห้องเรียน

         วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอสื่อที่ประดิษฐ์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มานำเสนอ  ดังนี้
         1.  ลูกคิด  จะทำให้เด็กเห็นเป็นรูปธรรม เด็กจะได้การกระจายเลขแต่ละจำนวน

        
         2.  กราฟ  เป็นการนำเสนอข้อมูลในด้านการเปรียบเทียบ


         3.  ปฏิทิน  สอนในเรื่องคณิตศาสตร์ได้ดังนี้ เรียงลำดับ จำนวน นับ ปริมาณ

              จากปฏิทินเราสามารถนำกิจกรรมมาลงได้ 1. กิจกรรมวันเกิดให้ครูวาดรูปเค้กแล้วมีน่าเด็กลงไปในวันเกิดนั้นและเดือนนั้น 2.  สภาพอากาศให้ครูวาดรูปอาการแจ่มใส ฟ้ามืดครื้ม ฝนตก ลงไปในปฏิทิน

งานที่สั่งในครั้งต่อไป

         1.  ให้นักศึกษาทำงานกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ให้แต่ละกลุ่มเลือกหน่วย / สาระการเรียนรู้ มา 1 หน่วยแล้วทำมายเมป 
         2.  งานเดี่ยวคือ ให้แต่ละคนวิเคราะห์สาระการเรียนรู้ กับมาตรฐานคณิตศาสตร์แล้วทำประสบการณ์สำคัญ
              

สัปดาห์ที่ 10



วันศุกร์  ที่  4  มกราคม 2556



                  วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำสื่อที่กลุ่มของตนเองได้รับมอบหมาย 
ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าได้ "การทำสื่อปฏิทิน"


จากภาพ : เป็นไกน์ไลด์ในการทำ